News : มองกราฟฟิคผ่านกระจก

created : day month year

ที่มา : http://www.printingnews.com/article/12224290/power-windows-looking-through-window-graphics

The Hole Story เรื่องของรู

หากพูดถึงคำว่า Window Graphics ส่วนใหญ่เราจะนึกถึง Perforated Films หรือที่คนไทยคุ้นเคยในชื่อของสติกเกอร์ See-through เป็นวัสดุที่เราสามารถมองออกไปได้จากด้านใน แต่ด้านนอกจะเห็นแค่ภาพงานพิมพ์กราฟฟิคเท่านั้น กราฟฟิคจะถูกพิมพ์ลงบนด้านหน้าที่เป็นสีขาวของตัววัสดุ ส่วนด้านหลังจะเป็นด้านที่เป็นกาวสีเทาหรือดำเพื่อกันไม่ให้สายตาโฟกัสที่ตัวฟิล์ม โดยเราจะมองผ่านทะลุออกไป จริงๆ มันเป็นเรื่องของจิตวิทยามากกว่า กล่าวคือหากเราพิมพ์ชิ้นงานที่มีสีสดใส ฉูดฉาด มันสามารถดึงสายตาของผู้คนได้มากกว่า เป็นการดึงโฟกัสให้อยู่บนงานพิมพ์มากกว่าการมองทะลุฟิล์มเข้าไปด้านในหนึ่งในข้อสำคัญที่ต้องคำานึงถึงเมื่อเลือกใช้งานสติกเกอร์ See-through คือความโปร่งของตัววัสดุ (Transparency) ซึ่งจะถูกกำาหนดโดยจำานวน “รู” บนตัวสติกเกอร์ ยิ่งจำานวนรูน้อย ยิ่งเป็นการเพิ่มความโดดเด่นของงานพิมพ์ และเพิ่มความเป็นส่วนตัวของตัวคนหรือสถานที่ภายในด้านหลังกระจก เช่น จำานวนรูคิดเป็นร้อยละ 20 ส่วนอีก 80 ที่เหลือเป็นพื้นผิวของวัสดุ (มักจะเขียนกันว่า 80/20 เลขตัวแรกแสดงขนาดของพื้นผิว จำานวนด้านหลังแสดงจำานวนรู) ในทางกลับกัน หากมีความโปร่งแสงสูง จะทำาให้มองทะลุผ่านได้มากขึ้น แต่ความเด่นของงานพิมพ์ก็จะลดลงด้วยความโปร่งที่กล่าวข้างต้นนี้จะมีความสำคัญมากกับงานติดกระจกรถ โดยเฉพาะหน้าต่างรถประจำาทาง ส่วนงานภาครัฐอาจมีการกำาหนดค่าความโปร่งเป็น 60/40 หรือ 50/50 เพื่อให้ผู้โดยสารภายในสามารถเห็นบรรยากาศภายนอก รวมถึงป้ายรถเมล์ได้สะดวกยิ่งขึ้น ตัวเลขที่ถูกกำหนดมาในลักษณะนี้ ถือเป็นงานท้าทายสำาหรับผู้ออกแบบงานกราฟฟิคเช่นกัน เนื่องจากไม่สามารถออกแบบให้ตัวหนังสือหรือลวดลายสำคัญๆ อื่นๆ มีขนาดเล็กจนเกินไป เนื่องจากมันจะถูกกลืนหายไปกับรูสติกเกอร์ขนาดใหญ่ที่ถูกกำหนดมานั่นเอง

In or Out? ด้านใน หรือ ด้านนอก

จริงๆ เมื่อพูดถึง Window Graphics ยังมีวัสดุอื่นๆ อีกนอกเหนือจาก Perforated Films ตอนนี้เทรนด์การออกแบบจะ
มุ่งไปที่ชิ้นงานขนาดใหญ่ แม้ว่าการออกแบบจะมีกราฟฟิคเพียงจุดเล็กๆ ของกระจกทั้งบาน เช่น รูปเกล็ดหิมะสำาหรับตกแต่งช่วง
คริสต์มาส แต่แทนที่จะทำการพิมพ์รูปและทำการไดคัทออกเป็นชิ้นเล็กๆ การพิมพ์บนสติกเกอร์ใสแผ่นใหญ่แล้วนำมาติดกระจก
ทั้งบานนั้นง่ายและเป็นที่นิยมมากกว่า และโดยส่วนใหญ่มักจะติดชิ้นงานบนพื้นผิวกระจกด้านนอกมากกว่าติดด้านใน เนื่องจาก
ด้านในจะเห็นเงาสะท้อนของกระจกมากกว่า ดังนั้นการติดด้านนอกจะทำาให้งานพิมพ์คมชัดกว่า
อย่างไรก็ตาม บางกรณีการติดงานพิมพ์ด้านในก็สะดวกมากกว่า เช่น กรณีที่บริเวณนั้นๆ สุ่มเสี่ยงต่อพวกคนสัญจรไปมาที่
อาจมาดึงหรือทำลายสติกเกอร์งานพิมพ์ หรือการติดกระจกอาคารสูง แต่ต้องระวังไม่ให้กระจกที่ติดงานพิมพ์เป็นรอยหรือมีคราบ
สกปรกซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสีและความคมชัดของกราฟฟิคได้

You Should Do Windows ความสะอาดเป็นเรื่องใหญ่

น่าแปลกใจที่หลายๆ คนละเลยที่จะทำความสะอาดกระจกก่อนการติดตั้ง Window Graphics ซึ่งถือเป็นข้อสำคัญที่ส่งผล
ต่อความสวยงามของงานกราฟฟิค กระจกต้องสะอาดหมดจด 100% รวมถึงตามขอบมุมของกระจกด้วย ควรขูดคราบกาวของ
สติกเกอร์เดิม สี และ ฝุ่นผงต่างๆ ออกให้หมดด้วยใบมีดหรือเกียง และควรเช็ดทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ให้สะอาดอีกครั้ง
หนึ่ง แต่ต้องระวังไม่ควรเช็ดด้วยน้ำยาเช็ดกระจกหรือน้ำยาที่มีส่วนผสมของแอมโมเนีย เนื่องจากมีฤทธิ์ทำให้กาวของสติกเกอร์ที่
จะนำมาติดกระจกหลุดลอกได้ และบางครั้งน้ำยาเช็ดกระจกอาจจะทิ้งคราบสีฟ้าๆ ที่อาจส่งผลต่อกราฟฟิคต่อไปได้และอย่างที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น การทำความสะอาดกระจกไม่ควรมองข้ามตามขอบและมุม เพราะบริเวณดังกล่าวจะเป็นจุดเริ่มของการหลุดร่อนของสติกเกอร์โดยส่วนใหญ่ และการติดตั้งสติกเกอร์ควรเว้นระยะขอบกระจกเข้ามาอย่างน้อยประมาณ 3มิลลิเมตร เนื่องจากตามขอบกระจกมักมีซิลิโคนอยู่ ซึ่งกาวของสติกเกอร์จะไม่ยึดติดตรงส่วนของซิลิโคนนี้ เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้สติกเกอร์ติดกระจกหลุดลอกออกมาได้นอกจากนี้ ยังต้องดูว่าตำาแหน่งใดที่เราจะทำการติดงานพิมพ์กราฟฟิค เช่น ติดตั้งภายในหรือภายนอก เพราะจะส่งผลต่อการเลือกใช้วัสดุ ในปัจจุบัน ผู้ผลิตมีการเพิ่ม option ให้กับวัสดุ เช่น เป็นวัสดุที่ป้องกันรอยขีดข่วน (anti-scratch) เหมาะสำหรับติดตั้งในบริเวณที่มีผู้คนสัญจรผ่านไปมา หรือวัสดุที่มี UV Resistance สำหรับติดตั้งบริเวณที่โดนแสงแดด เป็นต้น

The Joy of Installation การติดตั้งก็สำคัญ

การติดตั้ง Window Graphics สามารถทำาได้ทั้งแบบเปียกและแบบแห้ง โดยแบบเปียก (ในที่นี้หมายถึงทั้งน้ำเปล่าธรรมดา หรือน้ำผสมน้ำยาล้างจาน ซึ่งจะแนะนำาให้ผสมน้ำอุ่น 1 แกลลอนต่อนำ้ายาล้างจาน 6 หยด / 2 ลิตรต่อ 3 หยด) โดยการฉีดพรมน้ำลงบนพื้นผิวและกาวของสติกเกอร์ให้ทั่วก่อนที่จะทำาการติดตั้ง ซึ่งจะทำให้สามารถเลื่อนตำาแหน่งตัวสติกเกอร์ได้ง่ายขึ้น แล้วใช้ที่รีดสติกเกอร์ (squeegee) ช่วยในการไล่ฟองอากาศและน้ำ โดยเริ่มจากด้านบนและส่วนกลางของสติกเกอร์และรีดไล่ออกมาจนถึงขอบของตัวงานพิมพ์ หากมีน้ำค้างอยู่ภายในจะทำาให้สติกเกอร์หลุดร่อนออกได้ อย่างไรก็ตาม พึงระลึกไว้เสมอว่า ฟิล์มหรือสติกเกอร์แต่ละยี่ห้อจะมีคุณสมบัติของกาวที่ต่างกัน และใช้กับนำ้าที่ต่างชนิดกัน แนะนำว่าให้สอบถามกับทางผู้ผลิตก่อนแต่ฟิล์มหรือสติกเกอร์บางชนิดก็ไม่เหมาะกับการติดตั้งแบบเปียก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสติกเกอร์ที่เป็นกาวแบบ emulsion มีวิธีทดสอบง่ายๆ โดยลองตัดฟิล์มหรือสติกเกอร์เป็นแถบยาว แช่ทิ้งไว้ในน้ำประมาณ 30–60 วินาที หากเนื้อกาวยังคงความใสอยู่ถือว่าสามารถติดแบบเปียกได้ แต่ถ้าเนื้อกาวเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่น ฟิล์มหรือสติกเกอร์นี้จะเหมาะกับการติดตั้งแบบแห้งมากกว่าสติกเกอร์ See-through เป็นสติกเกอร์ที่เหมาะกับการติดแบบแห้งเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีสติกเกอร์ที่ใช้เทคนิค Air Egress ซึ่งจะมีร่องในเนื้อกาว ทำให้เวลาติดตั้งเราสามารถไล่อากาศออกไปตามแนวร่องได้ เพื่อลดปัญหาเรื่องฟองอากาศ แต่ข้อเสียที่อาจเกิดขึ้นจากร่องนี้คือ เมื่อติดตั้งไปแล้ว อาจจะมองเห็นรอยร่องเหล่านี้บนพื้นผิวด้านหน้าของฟิล์มหลังจากที่ถูกรีดก็เป็นได้

Film On Film ฟิลม์เคลือบจำเป็นมั้ย

Window Graphics ที่ติดตั้งอยู่ด้านนอกกระจกอาจจะมีการเคลือบฟิล์มด้านหน้าอีกชั้นหนึ่ง แต่ในบางกรณีก็ไม่จำเป็น และ ถือเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยใช่เหตุ ส่วนใหญ่งานที่ควรจะต้องมีการเคลือบมักจะเป็นงานติดกระจกที่ต้องเผชิญฝุ่น ควัน ฝน และคราบต่างๆ ที่กระเด็นจากท้องถนน หากไม่ได้เคลือบ ฝุ่น ละอองผง และน้ำ อาจจะเข้าไปอยู่ตามร่องรู ทำาให้เกิด Fishbowl Effect หรือการที่คนด้านในมองออกมาได้ไม่ชัด ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดอาการเมารถได้

A Touch of Frost ฟิล์มฝ้าก็นิยมใช้กัน

Window Films ยังสามารถนำมาตกแต่งหรือเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับอาคารหรือห้องต่างๆ ได้ (เช่น Etched Glass Films หรือ Dusted/Frosted Crystal) ถือเป็น Window Graphics อีกประเภทหนึ่งนอกเหนือจากงานพิมพ์อิงค์เจ็ทติดกระจก


ในปัจจุบันประเทศไทยมีการนำ Window Graphics มาใช้กันอย่างแพร่หลาย ผู้ผลิตและติดตั้งจึงควรเรียนรู้เคล็ดลับและประเภทของ Window Films เพื่อสามารถนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม สวยงาม ตอบสนองต่อธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานพิมพ์และงานตกแต่ง Window Films ที่เติบโตอย่างรวดเร็วต่อไป  


อ้างอิงค์จาก Graphic&Sign Vol.10